กะทิ กะทิได้มาจากมะพร้าว ขนมไทยนิยมใช้กะทิที่คั้นเองจาก มะพร้าวขูดใหม่ๆ ถ้าคั้นกะทิจากมะพร้าวที่มีกลิ่นจะทำให้กลิ่นของขนมเสีย ทั้งกลิ่นและรสอาจเปรี้ยวแก้ไขได้ยาก ไม่สามารถจะกลบกลิ่นหืนของกะทิได้ แม้แต่นำไปตั้งไฟกวน มะพร้าวเมื่อซื้อมา ถ้ายังไม่ใช้ควรเก็บ ในตู้เย็น หรือต้องคั้นเป็นกะทิทันที และทำให้ร้อนหรือให้สุกก่อนถ้าต้องการ เก็บไว้ยังไม่ใช้ทันที
การคั้นมะพร้าวเพื่อให้ได้หัวกะทิ จะนวดมะพร้าวก่อน ใส่น้ำร้อนหรือน้ำสักแต่น้อย นวดน้ำในมะพร้าวออกมาจะได้หัวกะทิข้น ขาว ในการทำขนมหวานต้องการใช้หัวกะทิข้นๆ เพื่อให้ขนมน่ารับประทาน ผู้ประกอบการขนมหวานไทยจึงควรมีความรู้เรื่องการคั้นมะพร้าวให้ได้ กะทิที่ข้น
กลิ่น กลิ่นที่ใช้ในการทำขนมหวานไทย แต่ก่อนจะใช้ดอกไม้ สดที่มีกลิ่นหอม เช่น ดอกมะลิ กระดังงา ฯลฯ นำมาอบในน้ำสะอาด เพื่อให้น้ำมีกลิ่นหอม แต่ในปัจจุบันภาวะสิ่งแวดล้อมได้เปลี่ยนไป ดอกไม้ชนิดต่างๆ ใช้ยาฆ่าแมลงฉีด เพื่อให้มีความคงทนและนำมาซึ่งอันตรายต่อผู้บริโภค จึงมีกลิ่นวิทยาศาสตร์สังเคราะห์เข้ามาช่วย เช่น กลิ่นมะลิ กลิ่นใบเตย กลิ่นวานิลลา ฯลฯ
เกลือ ในขนมหวานไทย เกลือให้รสเค็มมีบทบาทสำคัญ ทำให้ ขนมเกิดรสชาติน่ารับประทานขึ้น เมื่อนำไปผสมกับกะทิ หรือมะพร้าว
สารช่วยให้ขึ้น ขนมมีความจำเป็นในการใช้สารช่วยให้ขึ้นน้อยมาก วิธีการทำ และส่วนผสมมีส่วนช่วยทำให้ขนมฟูขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น การทำปุยฝ้าย ขนมตาล ฯลฯ แต่ปัจจุบันลักษณะดั้งเดิมของขนมหวาน ไทยในท้องตลาดได้เปลี่ยนไปเพื่อธุรกิจการค้า หน้าตาขนมจะมีความน่ารับประทานขึ้นโดยอาศัยสารทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้แก่ ผงฟู เพื่อทำให้ ขนมขึ้นเร็ว และมีลักษณะน่ารับประทาน
ไข่ ไข่ที่ใช้ในการทำขนมหวานไทย จะใช้ทั้งไข่ไก่และไข่เป็ด การนำไข่มาตีให้ขึ้นฟูมากจะเป็นตัวเก็บฟองอากาสช่วยทำให้ขนมโปร่งฟู การเลือกใช้ไข่ควรใช้ไข่ที่ใหม่และสด
อาหารไทย | สูตรอาหารไทย | วิธีทำอาหารไทย | สูตรขนมไทย | สูตรขนมหวานไทย | ขนมหวาน | ขนมหวานไทย | กล้วยบวดชี
© 2007 EzyThaiCooking.com All rights reserved .